วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



ขั้นตอนการทำE-BOOK

....


นำเข้า Flash, Audio, Movie

การนำเข้า Flash Movie, Audio/Sound และ Movie ใน e-Book สามารถคลิกปุ่ม
เครื่องมือ Insert Multimedia
คลิกเลือกไฟล์สื่อจากปุ่ม Select Multimedia โดยเลือกประเภทสื่อเป็น Flash สำหรับ
นำเข้า Flash Movie หรือ Common media สำหรับการนำเข้าเสียง .mid, .mp3, .wav และ Video
(.avi, .mpg, .mpeg)

เมื่อคลิกปุ่ม OK จะปรากฏกรอบวางสื่อที่สามารถปรับขนาดและตำแหน่งได้เช่นกัน
เมื่อ DNL Package
• Embed file inside book ให้ผังสื่อที่เลือกใช้กับแฟ้มเอกสารหรือไม่ กรณีที่ไม่เลือกรายการนี้ จะต้องมั่นใจว่าได้คัดลอกแฟ้มสื่อไปพร้อมกับแฟ้มเอกสารด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าเลือกจะทำให้ขนาดของแฟ้มผลงานโตขึ้น• Start play automatically ให้สื่อที่เลือกทำงานอัตโนมัติหรือไม่ (แนะนำให้เลือกรายการนี้ทุกครั้ง)• Loop ต้องการให้สื่อนำเสนอวนลูปเมื่อนำเสนอจบหรือไม่• Show control ต้องการแสดงแถบควบคุมสื่อ เช่น ปุ่มปิด ปุ่มนำเสนอ หรือไม่ (แนะนำให้เลือกรายการนี้ทุกครั้ง)เทคนิคเพิ่มเติมการนำเข้าแฟ้มเสียง สามารถย่อขนาดของกรอบสื่อให้เล็กจนมองไม่เห็นเพื่อไม่แสดงจอภาพได้ โดยที่เสียงยังคงทำงานได้ตามปกติการสร้าง LinkDesktop Author มีคำสั่งจัดการ Link ได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้การสร้างสรรค์Interactive e-Book เป็นเรื่องง่าย โดยการคลิกเลือกภาพ หรือกรอบกราฟิก หรือข้อความ แล้วใช้คำสั่ง Change Link

การสร้าง Link

Desktop Author มีคำสั่งจัดการ Link ได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้การสร้างสรรค์
Interactive e-Book เป็นเรื่องง่าย โดยการคลิกเลือกภาพ หรือกรอบกราฟิก หรือข้อความ แล้วใช้
คำสั่ง Change Link

Link Type : Page เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่นๆ ซึ่งต้องระบุเลขหน้า ในช่อง Link
Target
Link Type : Web เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ อีเมล์ หรือแฟ้มเอกสาร.

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาว สุภาพร ทองหอม
ชื่อเล่น สาว
การศึกษา มัธยมศีกษา ปีที่6 โรงเรียนเมืองกระบี่
ภาคใต้

ภาคใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของ
ไทย อยู่ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคกลาง บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่ รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา

จังหวัดในภาคใต้



แผนที่ภาคใต้แบ่งตามจังหวัด

โดยทั่วไป ถือว่าภาคใต้มีด้วยกัน 14 จังหวัด ดังนี้
1.
ชุมพร
2.
กระบี่
3.
นครศรีธรรมราช
4.
นราธิวาส
5.
ปัตตานี
6.
พังงา
7.
พัทลุง
8.
ภูเก็ต
9.
ระนอง
10.
สตูล
11.
สงขลา
12.
สุราษฎร์ธานี
13.
ตรัง
14.
ยะลา
ของดีจังหวัดกระบี่ กระบี่
แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวย มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี


เขาขนาบน้ำ




ประเพณีลอยเรือจังหวัดกระบี่




ความสำคัญประเพณีลอยเรือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวอูรักลาโวย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสมาชิกในชุมชนและญาติพี่น้องที่แยกย้ายถิ่นไปทำมาหากินในแถบทะเล และหมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันจะพากันเดินทางกลับมายังถิ่นฐาน เพื่อประกอบพิธีนี้


ของดีจังหวัดชุมพร

ชุมพร
ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก






ล่องแพอำเภอพะโต๊ะ






งานประเพณีแห่พระแข่งเรือจังหวัดชุมพร



ความสำคัญงานประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะการขึ้นโขนชิงธง ที่นายท้ายเรือต้องถือท้ายเรือให้ตรงเพื่อให้นายหัวเรือคว้าธงที่ทุ่นเส้นชัย โดยการขึ้นโขนเรือ


ของดีจังหวัดตรัง

ตรัง

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรังประการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา

สถานที่ท่องเที่ยวหาดปากเมง
ถือศีลกินเจจังหวัดตรัง




ความสำคัญพิธีถือศีลกินเจจะเป็นพิธีที่มีความสำคัญดังนี้๑. เป็นการบำเพ็ญศีล สมาทานกินเจ บริโภคแต่อาหารผักและผลไม้ เป็นการละเว้นการทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รักษาศีลทำจิตใจให้บริสุทธิ์ งดการเที่ยวเตร่ ไม่ดื่มของมึนเมา ผู้ศรัทธาที่กินเจจะสวมเสื้อผ้าสีขาวและสวดมนต์ทำสมาธิภาวนาแผ่เมตตาจิต ขอพรให้ตนเองและครอบครัว๒. เป็นการสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าความชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บให้ออกไปจากตัวผู้ที่ถือศีลกินเจ๓. เกิดความสามัคคีในหมู่ผู้ที่ศรัทธาที่เข้าร่วมพิธีถือศีลกินเจ ต่างก็ยิ้มแย้มเป็นมิตรมีไมตรีต่อกัน มีการบริจาคทรัพย์สำหรับเป็นค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในโรงครัว เพื่อให้มีอาหารเพียงพอ มีอาสาสมัครมาช่วยงานทำงานครัวเป็นจำนวนมาก



ของดีจังหวัดนครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช

เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสาม กษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร




ประเพณีลากพระ (ชักพระ) จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความสำคัญเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ปฏิบัติตามความเชื่อว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหน




ของดีจังหวัดปัตตานี

ปัตตานี

บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี

ประเพณีแห่นก จังหวัดปัตตานี


ความสำคัญ
เป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์



ของดีจังหวัดระนอง

ระนอง

คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง

วัดหาดส้มแป้น


งานปิดทองพระถ้ำพระขยางค์
ความสำคัญ จัดขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี ประมาณ 3-7 วัน โดยใช้บริเวณถ้ำพระขยางค์เป็นสถานที่จัดงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเข้าชมความสวยงามของถ้ำตลอดจนพันธุ์ไม้และว่านต่างๆ ที่หายาก ซึ่งเชื่อกันว่ามีผู้นำมาปลูกไว้ขนเขา โดยช่วงกลางคืนจะมีมหรสพต่างๆ งานกาหยู กำหนดจัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีกาหยูหรือมะม่วงหิมพานต์กำลังสุกเต็มต้นและเป็นฤดูที่ชาวบ้านกำลังเก็บเมล็ดกาหยู ในภาคราชการจัดให้มีการออกร้านจัดนิทรรศการ เพื่อประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น ประกวดเมล็ดกาหยู กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนางและการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ตลอดจนจัดประกวดผลผลิตทางการเกษตรและอาหารทะเลแห้ง เช่น กะปิ ปลาเค็ม ฯลฯ รวมทั้งมีงานมหรสพ และการแสดงต่างๆ



ของดีจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี
หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ

น้ำตกหน้าเมือง


งานวันเงาะโรงเรียน
ความสำคัญ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และกรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มีการนำผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือน
สิงหาคมของทุกปี






ของดีจังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส

ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน

เกาะยาว
อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กม. จากสี่แยกตลาดตากใบเลยไปยังแม่น้ำตากใบ มีสะพานไม้ชื่อ "สะพานคอย 100 ปี" ยาว 345 เมตร ทอดข้ามแม่น้ำตากใบไปยังเกาะยาว ซึ่งทางด้านตะวันออกของเกาะจะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีขาวสวยงาม สามารถเล่นน้ำได้ มีหมู่บ้านชาวประมงและสวนมะพร้าว

ประเพณีมาแกสมางัด
ความสำคัญ คือกินเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว จูงเมือเจ้าบ่าวเข้าไปในห้องของเจ้าสาว จัดให้นั่งเคียงคู่กับเจ้าบ่าว ปัจจุบันนิยมจัดให้นั่งบนเก้าอี้บนแท่นหรือบัลลังก์ที่เรียกว่า ปงายางัน อาหารที่ใช้ป้อนเจ้าบ่าว เจ้าสาว มีข้าวเหนียวเหลือง - แดง - ขาว มีสามส่วน ลักษณะเหมือนกลีบสามกลีบประกบกันเป็นพุ่ม เหมือนพุ่มดอกไม้ที่ประดับในพานพุ่มข้าวเหนียวนี้เป็นพุ่มใหญ่ สูงประมาณ ๑ ศอก บนยอดพุ่มมีไข่ต้มแกะเปลือกออกแล้ววางอยู่ ๑ ฟอง ไก่ย่าง ๑ ตัว ขนมกะละแม ขนมก้อ และข้าวพอง หญิงที่เป็นญาติผู้ใหญ่ของเจ้าสาวจะหยิบข้าวเหนียวไข่ต้ม เนื้อไก่ย่าง และขนมป้อนให้เจ้าบ่าว เจ้าสาวกินคนละคำสลับกันเป็นการกินเพื่อเป็นสิริมงคล







ของดีจังหวัดพังงา
พังงา

แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

เขาช้าง


งานแห่พระศาลเจ้าหม่าจ้อโป๋ความสำคัญ เป็นงานเฉลิมฉลองที่ชาวพังงาเชื้อสายจีนได้ร่วมกันจัดขึ้น ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมของทุกปี งานนี้จะจัดขึ้นบริเวณริมถนนสายใน ในเขต ต.ถ้ำน้ำผุดใกล้กับตลาดใหญ่ ชาวเมืองจะนำรูปปั้นของเจ้าแม่ใส่คาน แล้วเดินขบวนแห่ไปรอบเมืองร่วมกับการแห่สรรพอาวุธในศาลเจ้า พร้อมกับบรรเลงดนตรีจีนอย่างครึกครื้น เซียนแต่ละองค์จะมีบุคลิกแตกต่างกันไปชาวบ้านจะต้อนรับขบวนแห่ โดยการตั้งโต๊ะบูชาไว้หน้าบ้าน ปูผ้าแดง แบบจีน ปักธูปเทียน มีขนมและผลไม้วางไว้บนโต๊ะ ถ้าคนทรงหยิบผลไม้หรือขนมของบ้านใด เจ้าของบ้านจะดีใจมาก เพราะถือว่าเป็นนิมิตที่ดีและจะมีโชคดีตลอดปี ส่วนในศาลเจ้าจะมีพิธีฉลอง 7 คืน แต่ละคืนคนทรงจะทำพิธีต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่าง ๆ เช่น การแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ลิเก เป็นต้น







ของดีจังหวัดพัทลุง

พัทลุง

เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบ เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน

น้ำตกเขาคราม


งานประเพณีแข่งโพนลากพระ (ชักพระ)
ความสำคัญ เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔ – ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตรงกับเทศกาลออกพรรษา จะมีงานประเพณีลากพระหรือชักพระ ทั้งทางบกและทางน้ำ สำหรับจังหวัดพัทลุงเป็นการลากพระทางบก จะมีการตีโพน (กลอง) เพื่อควบคุมจังหวะในการลากพระ ขบวนพระลากของแต่ละวัดก็จะมีผู้ตีโพนอยู่บนขบวน เมื่อผ่านวัดต่างๆ ก็จะมีการตีโพนท้าทายกัน ทำให้มีการแข่งขันตีโพนขึ้นซึ่งมีการแข่งขันตีโพนเป็นประจำทุกปี บริเวณจัดงานอยู่ที่สนามกีฬา จังหวัดพัทลุง และหาดแสนสุขลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง กิจกรรมในงานมีการแข่งโพนจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง การประกวดขบวนแห่โพน การประกวดลีลาตีโพน แสดงนาฎศิลป์ การซัดต้ม การประกวดแห่เรือพระพิธีทางศาสนา กีฬาทางน้ำที่ทะเสสาบลำปำ นิทรรศการและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดใกล้เคียง เช่น การทำเสื่อกระจูดและผลิตภัณฑ์กะลา


ของดีจังหวัดสตูล

สตูล

สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์

หมู่เกาะอาดัง-ราวี



ประเพณีลอยเรือ
ความสำคัญ จัดขึ้นในหมู่ของชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะในจังหวัดสตูล ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 ทุกปี เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลและเสี่ยงทายอนาคตของการประกอบอาชีพ




ของดีจังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ต

ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

ภูเก็ตแฟนตาซี

ประเพณีกินผัก / กินเจ
ความสำคัญ ประเพณีการกินผัก หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกกันว่า “เจี่ยะฉ่าย” นั้น เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดจากบ้านในทู หรือไล่ทู (เขตอำเภอกะทู้ ในปัจจุบัน) เนื่องจากในสมัยก่อนพื้นที่นี้เต็มไปด้วยกิจการเหมืองแร่ จึงทำให้มีชาวจีนอพยพหลั่งไหลมาอยู่อาศัย เกิดเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันประเพณีกินผัก ถือเป็นจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ สำหรับจังหวัดภูเก็ต นอกจากท้องทะเลสีคราม และหาดทรายขาวแล้ว โดยจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเริ่มตั้งแต่วัน 1 ค่ำเดือน 9 จนถึง วัน 9 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจีน

อ๊ามที่สำคัญๆ ในจังหวัดภูเก็ตมีทั้งหมด 6 แห่ง คือ
อ๊ามกระทู้ที่บ้านกระทู้ อำเภอกะทู้
อ๊ามท่าเรือที่บ้านท่าเรือ อำเภอถลาง
อ๊ามจุ้ยตุ่ยที่ถนนระนอง อำเภอเมืองภูเก็ต
อ๊ามหล่อโรงที่ถนนพัฒนา อำเภอเมืองภูเก็ต
อ๊ามบางเหนียวที่ถนนภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต
อ๊ามสามกองที่ถนนเยาวราช อำเภอเมืองภูเก็ต




ของดีจังหวัดสงขลา

สงขลา

พิพิธภัณฑ์พะธำมะรง
ตั้งอยู่บนถนนจะนะใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดสงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา ในสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา เรือนไทยหลังนี้สร้างขึ้นจากคำบอกเล่าความทรงจำของ ฯพณฯ พลเอกเปรม


งานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโวความสำคัญ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประมาณเดือนตุลาคม ณ อำเภอเมือง พิธีจะเริ่มก่อนวันงานด้วยการห่มผ้าพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน ในวันงานเวลาเช้าจะเป็นพิธีตักบาตรเทโวบริเวณเชิงเขาตังกวน พระสงฆ์หลายร้อยรูปจะเดินลงมาจากเขาตังกวนเพื่อรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชน ตอนสายจะมีเรือพระจากวัดต่างๆในเขตจังหวัดสงขลาเคลื่อนผ่าน ให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญและลากพระ ตามความเชื่อที่ว่าจะได้บุญกุศลสูง เรือพระจะมารวมกันที่บริเวณสระบัวเพื่อร่วมประกวดการตกแต่งเรือพระ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย





ของดีจังหวัด ยะลา

ยะลา

ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน

ถ้ำทะลุ
อยู่ตำบล ถ้ำทะลุ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางตามเส้นทางหลวงสายยะลา-บันนังสตา-เบตง จุดเด่นคือถ้ำหินปูน ซึ่งทะลุลอดไปอีกด้านหนึ่งของภูเขาที่มีศาลประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม อันเป็นเคารพสักการะของชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งจัดให้มีเทศกาลกินเจขึ้นที่บริเวณศาลแห่งนี้มีนักท่องเที่ยวและผู้นับถือ ศรัทธาเจ้าแม่กวนอิม เดินทางมาร่วมสักการะและกินเจมากกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี
เทศกาลฟื้นฟูประเพณีของดีเมืองยะลาความสำคัญ บริเวณเทศบาลเมืองยะลา ในเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม จะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกวดรำซีละ ประกวดสตรีแต่งกาย ชุดบานง ประกวดศรีบุหงาศิริ ประกวดรำรองเง็ง ประกวดขับร้องเพลงอันนาซีตภาษามลายู และภาษาไทย มีนิทรรศการของดีเมืองยะลา